เมนู

อรรถกถาเทสนาสูตร


การกําหนดธรรม ท่านกล่าวไว้ในเทสนาสูตรที่ 2.

3. ฐานิยสูตร



นิวรณ์ 5 เกิดเพราะมนสิการถึงธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งนิวรณ์


[438] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น
และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการ
มากถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งกามราคะ.
[439] พยาบาทที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรมอันเป็นที่ตั้ง
แห่งพยาบาท.
[440] ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรมอันเป็นที่
ตั้งแห่งถีนมินธะ.
[441] อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรมอัน
เป็นที่ตั้งแห่งอุทธจัจกุกกุจจะ.

[442] วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรมอันเป็นที่
ตั้งแห่งวิจิกิจฉา.
[443] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิด
ขึ้นและที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงความเจริญไพบูลย์ เพราะกระทำมนสิการมากถึง
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงความเจริญไพบูลย์ เพราะกระทำ
มนสิการมากถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์.
จบฐานิยสูตรที่ 3

อรรถกถาฐานิยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในฐานิยสูตรที่ 3.
บทว่า กามราคฎฺฐานิยานํ ได้แก่ อารัมมณธรรมอันเป็นเหตุแห่ง
กามราคะ. แม้ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งพยาบาทเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ก็สูตรนี้ทั้งหมดท่านกล่าว โดยอารมณ์เท่านั้น. แม่การกำหนดที่กล่าวในสูตร
ที่ 2 แห่งวรรคที่ 1 ผู้ศึกษาหาได้ในสูตรนี้แล.
ในอโยนิโสสูตรที่ 4 ท่านกล่าวโพชฌงค์คลุกเคล้ากันไป. ใน
อปริหานิยสูตรที่ 5 บทว่า อปริหานิเย ธมฺเม ได้แก่ สภาวธรรมอัน
ไม่ทำความเสื่อม.
จบอรรถกถาฐานิยสูตรที่ 3